วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมุนไพรใกล้บ้านแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด



วันนี้ผมนำเรื่องใกล้ตัว ง่ายๆ แต่คนเรามักมองข้ามไปมาฝากกันครับ นั่นคือ "สมุนไพร" สมุนไพรใกล้บ้านเรานี่แหละครับ บางบ้านปลูกไว้ประกอบอาหาร บางบ้านปู่ย่า ตายาย ปลูกไว้แต่ไม่รู้จัก รึบางบ้านไม่ได้มีปลูก หรือ ไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำไป น่าเสียดายครับ ของดีๆ มีประโยช์น หาได้ง่ายตามท้องถิ่นแบบนี้ จะทิ้งจะขว้างก็กระไรอยู่ ต้องเอามาใช้ให้เกิดประโยช์นสูงสุดกันดีกว่าครับ จะได้ไม่ต้องไปซื้อหายาแพงๆมารักษาโรคเล็กๆน้อยๆที่เราสามารถแก้ได้ด้วยตัวเองแบบนี้ แถมประหยัดเงินในกระเป๋าอีกด้วยนะเนี้ย

"สมุนไพรบำบัด" คำๆนี้หลายๆท่านอาจจะฟังคุ้นหูมาบ้างแล้ว แต่หลายๆท่านก็ไม่เคยคิดจะใส่ใจใยดี "หันกลับมาครับ" หันกลับมามองอะไรที่มันง่ายๆ ใกล้ๆตัวกันบ้างดีกว่าครับ เพราะเจ้า"สมุนไพร" เนี้ยพวกมันมีสรรพคุณมากมาย "แก้โรค" ต่างๆได้มากมายนักเกินกว่าจะบรรยายได้หมด วันนี้ผมเลยมานำเสนอเรื่องของ สมุนไพรบำบัดแก้อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นกันบ่อย (บ่อยมากเหลือเกิน) ดังนั้นเรามาแก้ปัญหากันแบบง่ายๆ แถวๆรอบๆบ้านกันดีกว่าครับ ลุยยยย!!



สูตร 1 ขมิ้นชัน (ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ตายอ สะยอ)





ส่วนที่ใช้ เหง้าสด และแห้ง

วิธีใช้

- ยาลูกกลอน ใช้ขมิ้นสดล้างให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดละเอีดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย อบให้แห้ง
และเก็บในขวดสะอาดมิดชิด รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อน หรือ หลังอาหารและก่อนนอน

- ยาแคปซูล ใช้ขมิ้นสดล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดหรืออบให้แห้งสนิท บรรจุ แคปซูล ขนาด 250 มก. รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง
ก่อนหรือหลังอาหารและก่อนนอน หากรับประทานแล้วท้องเสีย ให้หยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น



สูตร 2 ขิง (ขิงเผือก ขิงแกง ขิงแดง สะเอ)




ส่วนที่ใช้ เหง้าแก่ หรือสด รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด คลื่่นไส้ อาเจียน เมารถเมาเรือ

วิธีใช้

- ใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ตากหรืออบให้แห้ง แล้วบดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคบซูล
รับประทานก่อนหรือหลังอาหาร และก่อนนอน ครั้งละ 2 แคปซูล



สูตร 3 กานพลู (จันจี่)





ส่วนที่ใช้ ดอกตูม

วิธีใช้

- ดอกแห้ง 5-8 ดอก ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่มใช้ดอกแห้ง 1 ดอก แช่ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน



สูตร 4 กระเทียม (กระเทียมขาว หอมขาว ปะเซ้วา)





ส่วนที่ใช้ หัวใต้ดิน

วิธีใช้

- ใช้กระเทียมสด 5-7 กรีบ รับประทานหลังอาหารหรือตอนมีอาการ



สูตร 5 กระเพรา (กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กระเพราแดง)





ส่วนที่ใช้ ใบที่สมบรณ์เต็มที่ นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากระเพราขาว

วิธีใข้

- ใช้ใบและยอด 1 กำมือ (สดหนัก 25 กรัม แห้งหนัก 4 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม



สูตร 6 ตะไคร้ (จะไคร้ ไคร คาหอม เชิดเกรบ เหลอะเกรย ห่อวอตะโป หัวสิงไค)





ส่วนที่ใช้ เหล้าและลำต้นแก่

วิธีใช้

- ใช้เหง้าและลำต้นแก่สด 1 กำมือ ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 500 cc. เอาน้ำดื่ม หรือใช้อย่างแห้งนำมาชงแบบชาดื่ม



สูตร 7 พริกไทยดำ





ส่วนที่ใช้ ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก นำมาตากแดด

วิธีใช้

- นำผลแก่แห้งบดเป้นผงใส่แคปซูล หรือปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 0.5-1 กรัม หรือใช้ผงชงน้ำดื่มเลยก็ได้
ส่วนที่เป็นเมล็ดอ่อน ก็นำมาเครี้ยวสดๆ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้



สูตร 8 ดีปลี (ดีปลีเชือก ประดงข้อ ปานนุ)





ส่วนที่ใช้ ผลแก่จัด ตกาแดดให้แห้ง

วิธีใช้

- ใช้ผลแก่แห้งประมาณ 10 ดอก ใส่น้ำประมาณครึ่งลิตร ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้



สูตร 9 ข่า (ข่าตาแดง ข่าหยวก ข่าหลวง)





ส่วนที่ใช้ เหล้าแก่สด หรือ แห้ง

วิธีใช้

- ใช้เหง้าสดหรือแห้ง ขนาดหัวแม่มือ (สดหนัก 5 กรัม แห้งหนัก 2 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม



สูตร 10 กระชาย (กระแอน ระแอน ขิงทราย ว่านพระอาทิตย์ จี๊ปุ เปาซอเถ๊ะ เป๊าะสี)





ส่วนที่ใช้ เหง้าใต้ดินและราก

วิธีใช้

- นำเหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ บุบพอแหลก ต้มเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือใช้ปรุงเป็นอาหาร



สูตร 11 แห้วหมู ( หญ้าขนหมู )





ส่วนที่ใช้ เหง้าใต้ดินและราก

วิธีใช้
- ใช้ ครั้งละ ๑ กำมือ (๖๐ – ๗๐ หรือหนัก ๑๕ กรัม ) ทุบให้หแตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ ๕ หัว โขลกละเอียดผสมน้ำผึ้งรับประทาน



สูตร 12 ลูกกระวาน (กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์ กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว)




ส่วนที่ใช้ เมล็ดแก่แห้ง

วิธีใช้
- เอาเมล็ดบดเป็นผงรับประทานครั้งละ ๑.๕ – ๓ ช้อนชา (หนัก ๑ – ๒ กรัม) ชงกับน้ำอุ่น เมล็ดกระวานยังใช่ผสมกับสมุนไพรที่มีฤทธืขับถ่าย เช่น มะขามแขก เพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง



สูตร 13 เร่ว (เร่วใหญ่ มะอี้ หมากอี้ หมากเนิง มะหมากอี้ หมากแน่ง)





ส่วนที่ใช้ เมล็ดแห้ง

วิธีใช้
- ปอกเปลือกผลเร่วออก ใช้เมล็ดบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ๓ – ๙ ผล
(หนัก ๑ – ๓ กรัม) รับประทานวันละ ๓ ครั้ง



สูตร 14 มะนาว ( ส้มมะนาว มะสิว )




ส่วนที่ใช้ เปลือกของผลมะนาว

วิธีใช้
- นำเอาเปลือกของผลสด ประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อย พอให้น้ำมันออก ชงน้ำดื่มเวลามี่อาการ



สูตร 15 กระทือ ( กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ )


ส่วนที่ใช้ หัวหรือเหง้าแก่สด ในช่วงฤดูแล้ง

วิธีใช้
- นำเอาเหง้าหรือหัวสดขนาดเท่าหัวแม่มือ ๒ หัว ( ประมาณ ๒๐ กรัม ) ย่างไฟ พอสุกตำผสมน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ


ยังไม่หมดแค่นี้นะครับ "สมุนไพรไทย" ของเรานั้นหลากหลายและมีสรรพคุณมากมายนัก ไว้โอกาศหน้าผมจะนำมาฝากทุกท่านอีกแน่นอน
ตอนนี้ขอตัววิ่งไปดูรอบๆบ้านก่อน ว่าจะจับเจ้า"สมุนไพร" ตัวไหนมาต้มยำทำแกงดี หุหุ
แล้วพี่ๆน้องๆทุกท่านหละครับ จะวิ่งๆๆไปดูเหมือนผมกันไหมคร้าบ!! (^_^)


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : http://www.the-arokaya.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น